แฟชั่น เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษว่า Fashion ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำนี้ว่า "สมัยนิยมหรือวิธีการที่นิยมกันทั่วไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง" เป็นการยอมรับจนเกิดเป็นค่านิยม มีกระบวนการเกิดภาษาใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากคำว่า "วิวัฒนาการ" ที่ทฤษฏีของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ระบุไว้ว่าวิวัฒนาการคือ การเปลี่ยนแปลงที่ต้องใช้เวลายาวนานและสามารถถ่ายทอดสิ่งนั้นไปสู่ลูกหลานได้ โดยมากแล้วคำว่าแฟชั่นมักมีความหมายเกี่ยวกับการแต่งตัว (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
คุณภาณุ อิงคะวัต เจ้าของแบรนด์เกรย์ฮาวด์ มองว่า แฟชั่นคือ กระแสนิยมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาและยุคสมัยซึ่งมันอาจเกิดขึ้นมาจากกระแสสังคม การกิน การอยู่ การใช้คำพูด เสื้อผ้า เพียงแต่คนทั่วไปมักเอาคำว่าแฟชั่นมารวมกับเสื้อผ้ากันมาก แต่จริง ๆ แล้วแฟชั่นคือ "เทรนด์" แฟชั่นไม่ได้มีความหมายเดียวตายตัว แต่จะแตกต่างกันไปสำหรับคนแต่ละกลุ่ม แต่ละช่วงเวลา แต่ละสถานที่หรือบริบท ยกตัวอย่างเช่น เด็กวัยรุ่นในกรุงเทพฯ กับแม่บ้านอาศัยอยู่ต่างจังหวัด ในระดับประเทศหรือสังคม แฟชั่นเป็นมากกว่าเสื้อผ้ามันหมายถึง วิถีการดำรงชีวิต การบริโภค มุมมอง ไม่ได้เป็นแค่เสื้อผ้า มันสามารถเป็นรถยนต์ โทรศัพท์ และอื่น ๆ อีก
อีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจจากคุณจรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย Curator แห่ง TCDC ที่เคยผ่านงานจัดนิทรรศการ PRESENCE OF THE PAST คอลเล็คชั่นเสื้อผ้าฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อนปี 2008 ในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณวรีนารีรัตน์ คุณจรินทร์ทิพย์กล่าวว่า "แฟชั่นคือ การสื่อสารที่ไม่ต้องใช้คำพูด (Non Verbal Communications) ส่ิงที่เป็นแฟชั่นสามารถสะท้อนความเป็นเพศ สถานะทางสังคม ฐานะ อาชีพ ความต้องการรสนิยม เผ่าพันธุ์ เชืั้อชาติ ความเป็นกลุ่มก้อน ฯลฯ
องค์ประกอบที่ทำให้เกิดแฟชั่น
1. ได้รับการยอมรับในสังคม
2. มีต้นแบบที่เข้มแข็ง มีสื่อ มีการเลียนแบบ ทำตามเป็นกลุ่ม จากสังคมชั้นสูงสู่สังคมระดับล่าง หรือ ในสังคมระดับเดียวกันหากเกิดการยอมรับ
3. เกิดขึ้นและหายไปในช่วงเวลาอันสั้น
แฟชั่นจะเกิดเป็นจริงเป็นจังได้ในสังคมที่เปิด มีการสื่อสารที่อำนวยเป็นช่องทางกระจายที่ทำให้เกิดการเลียนแบบ โดยในโลกแห่งการแสวงหาผู้บริโภคกลุ่มซึ่งมีอำนาจในการซื้อสูง มักเลือกใช้สินค้าและไลฟ์สไตล์เป็นต้นแบบ คนทั่วไปใช้พฤติกรรมต่าง ๆ ของชนชั้นอีกระดับ เติมเต็มส่ิ่งที่โหยหา อาจใช้เป็นเคร่ื่องมือเลื่อนระดับชั้นทางสังคม โดยมีความเชื่อว่าตัวเองเป็นที่ยอมรับมากขึ้น เช่น การใช้สินค้าแบร์นเนม สินค้าไฮเทคโนโลยี เพื่อบ่งบอกสถานะของตนว่าทันสมัย
ที่มา:ตำราวิชา Fashion Marketing (การตลาดสินค้าแฟชั่น) เขียนโดย ผศ.ฤดีหลิมไพโรจน์
ตำราวิชาการตลาดสินค้าแฟชั่น |
ผู้ที่ชื่นชอบในเรื่องเสื้อผ้าการแต่งกายสามารถเข้าชมได้ที่
website:http://www.fashionddshop.com/
FanPage: Designed by Ruedee
Facebook:Ruedee Limpairoj
Group:คนชอบแต่งตัว
Instagram:ruedee_limpairoj
Phone:081-6381535
FanPage: Designed by Ruedee
Facebook:Ruedee Limpairoj
Group:คนชอบแต่งตัว
Instagram:ruedee_limpairoj
Phone:081-6381535
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น