Fashion Basics


หลักการพื้นฐานของแฟชั่น

          เพื่อให้เกิดความสำเร็จในวงการแฟชั่น บรรดาดีไซเนอร์ ผู้ผลิต นักการตลาด และผู้ขายสินค้าแฟชั่นต้องมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของสินค้าแฟชั่นก่อน อาทิ รูปแบบ (Style) การออกแบบ (Design) เป็นต้น
       
          รูปแบบ (Style) คือรูปทรงหรือแบบอันเฉพาะเจาะจงของเคร่ื่องแต่งกาย เช่น กระโปรงสั้น (A Mini-Skirt) หรือกางเกงผ้ายืดขอบยางใหญ่(Capri Pants) ซึ่งมีลักษณะที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ รูปแบบสามารถกลายเป็นแฟชั่นได้ ถ้ากลายเป็นที่นิยมชมชอบในวงกว้าง และยังคงมีความเป็นแฟชั่นไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่ยังคงได้รับการยอมรับอยู่ในขณะที่กระแสแฟชั่นเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แต่ รูปแบบ ก็ยังคงมีอยู่ไม่หายไปไหน เคร่ื่องแต่งกายบางรูปแบบอย่างกระโปรงสั้นอาจจะได้รับความนิยมและเสื่อมความนิยมได้ แต่ถ้ายังคงรักษาตัวตนไว้ได้ในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของเคร่ืองแต่งกาย มีปัจจัยภายนอกมากมายที่มีผลกระทบต่อรูปแบบไม่ว่าจะเป็น สภาพทางสังคม ปัจจัยทางเทคโนโลยี กฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ สภาพการแข่งขัน และสภาพเศรษฐกิจ

          การออกแบบ (Design) แม้ว่าคำว่ารูปแบบ กับคำว่าการออกแบบบางครั้งอาจจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน แต่คำทั้งสองคำนี้ก็มีความหมายแตกต่างกัน การออกแบบถือว่าเป็นด้านหนึ่งของรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ การออกแบบประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ 4 อย่าง ได้แก่ สี ลายเส้น รูปทรง และเนื้อผ้า การออกแบบเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาวงการแฟชั่นเพราะมันคือการกำหนดรูปลักษณ์ภายนอกของสินค้าที่ผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้วว่าจะให้ออกมามีหน้าตาเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น เสื้อกันหนาวคอวี เป็นรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง แต่เสื้อกันหนาวคอวีก็มีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับสีที่ใช้ เนื้อผ้า หรือความยาวของแขนเสื้อ
                สี เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการออกแบบและอาจจะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ ลูกค้าร้านเสื้อผ้าอาจจะเลือกซ้ือโดยพิจารณาที่สีเป็นหลัก
               ลายเส้น (Line) เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการออกแบบที่เป็นตัวกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวสายตาของผู้พบเห็น ลายเส้นสามารถกำกับให้สายตาของผู้พบเห็นมองขึ้น มองลง มองจากข้างหนึ่งไปข้างหนึ่ง หรือมองวนรอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ รายละเอียดโครงสร้างของเสื้อผ้าบางอย่าง เข่น ตะเข็บ ก็เป็นตัวสร้างลายเส้นได้เช่นกัน ความนิยมของลายเส้นทั้งที่เป็นโครงสร้างหลักของเสื้อผ้า ่และเป็นลูกเล่นประดับเสื้อผ้าต่างก็เปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ ไปตามกระแสของแฟชั่น
               รูปทรง (Shape) เป็นโครงร่างโดยรวมของเสื้อผ้า บ่อยครั้งที่รูปทรงจะเป็นส่วนสำคัญของการออกแบบที่อยู่ในจิตใจของบรรดานักออกแบบเสื้อผ้า ผู้ผลิต และผู้ขายเป็นอย่างมาก รูปทรงเป็นมิติที่สามของเคร่ิ่องแต่งกาย เคริื่องประดับ หรือรองเท้า ในวงการแฟชั่น รูปทรงมี 3 แบบ คือ ทรงตรง (Straight หรือ Tubular) ทรงกระดิ่ง (Bell-Shaped หรือ Bouffant) และทรงเข้ารูป (Bustle Shape หรือ Back Full) 
               เนื้อผ้า (Texture) เป็นตัวบ่งบอกถึงพื้นผิวของวัสดุที่ใช้ตัดเย็บ หรือใยผ้า ซึ่งจะเป็นตัวแสดงอารมณ์และภาพลักษณ์ของเสื้อผ้า เส้นใย เส้นด้าย และวิธีการถักทอเส้นใย จะเป็นตัวกำหนดลักษณะของเนื้อผ้า เนื้อผ้ามีหลายลักษณะ ได้แก่ เรียบ หยาบ ด้าน มันวาว ละเอียด โปร่ง มีขน หรือลีบแบน เนื้อผ้าจะมีผลต่อรูปร่างของผู้สวมใส่ อาจทำให้ผู้สวมใส่แลดูตัวหนาขึ้น หรือบางลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับความหยาบหรือความเรียบของผู้ที่ใช้ เนื้อผ้ายังส่งผลต่อการท้ิงตัวของเสื้อผ้าชุดนั้นด้วย เนื้อผ้าที่มีเส้นใยโปร่งจะทำให้เสื้อผ้าแลดูเบาบาง ในขณะที่เนื้อผ้าที่มีเส้นใยหนาทึบจะเหมาะกับการตัดเย็บเสื้อผ้าสำหรับใส่ในงานที่เป็นทางการมากกว่า
       
ข้อมูล:หนังสือ Fashion Marketing การตลาดสินค้าแฟชั่น ผศ.ฤดี  หลิมไพโรจน์ (ผู้เขียน)
สนใจดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
Facebook: Designed by Ruedee
Fan Page: เสื้อผ้าสาวออฟฟิส
Group: เสื้อผ้าเรียบหรูในราคาที่จับต้องได้
Website: www.fashionddshop.com
Line: ruedee_limpairoj
Instagram: Designed_by_Ruedee
Phone: 081-6381535
       

Fashion คือ?


          แฟชั่น เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษว่า Fashion ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำนี้ว่า "สมัยนิยมหรือวิธีการที่นิยมกันทั่วไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง" เป็นการยอมรับจนเกิดเป็นค่านิยม มีกระบวนการเกิดภาษาใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากคำว่า "วิวัฒนาการ" ที่ทฤษฏีของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ระบุไว้ว่าวิวัฒนาการคือ การเปลี่ยนแปลงที่ต้องใช้เวลายาวนานและสามารถถ่ายทอดสิ่งนั้นไปสู่ลูกหลานได้ โดยมากแล้วคำว่าแฟชั่นมักมีความหมายเกี่ยวกับการแต่งตัว (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)

          คุณภาณุ  อิงคะวัต เจ้าของแบรนด์เกรย์ฮาวด์ มองว่า แฟชั่นคือ กระแสนิยมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาและยุคสมัยซึ่งมันอาจเกิดขึ้นมาจากกระแสสังคม การกิน การอยู่ การใช้คำพูด เสื้อผ้า เพียงแต่คนทั่วไปมักเอาคำว่าแฟชั่นมารวมกับเสื้อผ้ากันมาก แต่จริง ๆ แล้วแฟชั่นคือ "เทรนด์" แฟชั่นไม่ได้มีความหมายเดียวตายตัว แต่จะแตกต่างกันไปสำหรับคนแต่ละกลุ่ม แต่ละช่วงเวลา แต่ละสถานที่หรือบริบท ยกตัวอย่างเช่น เด็กวัยรุ่นในกรุงเทพฯ กับแม่บ้านอาศัยอยู่ต่างจังหวัด ในระดับประเทศหรือสังคม แฟชั่นเป็นมากกว่าเสื้อผ้ามันหมายถึง วิถีการดำรงชีวิต การบริโภค มุมมอง ไม่ได้เป็นแค่เสื้อผ้า มันสามารถเป็นรถยนต์ โทรศัพท์ และอื่น ๆ อีก

          อีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจจากคุณจรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย Curator แห่ง TCDC ที่เคยผ่านงานจัดนิทรรศการ PRESENCE OF THE PAST คอลเล็คชั่นเสื้อผ้าฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อนปี 2008 ในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณวรีนารีรัตน์ คุณจรินทร์ทิพย์กล่าวว่า "แฟชั่นคือ การสื่อสารที่ไม่ต้องใช้คำพูด (Non Verbal Communications) ส่ิงที่เป็นแฟชั่นสามารถสะท้อนความเป็นเพศ สถานะทางสังคม ฐานะ อาชีพ ความต้องการรสนิยม เผ่าพันธุ์ เชืั้อชาติ ความเป็นกลุ่มก้อน ฯลฯ

          องค์ประกอบที่ทำให้เกิดแฟชั่น
1.  ได้รับการยอมรับในสังคม
2.  มีต้นแบบที่เข้มแข็ง มีสื่อ มีการเลียนแบบ ทำตามเป็นกลุ่ม จากสังคมชั้นสูงสู่สังคมระดับล่าง หรือ ในสังคมระดับเดียวกันหากเกิดการยอมรับ
3.  เกิดขึ้นและหายไปในช่วงเวลาอันสั้น

          แฟชั่นจะเกิดเป็นจริงเป็นจังได้ในสังคมที่เปิด มีการสื่อสารที่อำนวยเป็นช่องทางกระจายที่ทำให้เกิดการเลียนแบบ โดยในโลกแห่งการแสวงหาผู้บริโภคกลุ่มซึ่งมีอำนาจในการซื้อสูง มักเลือกใช้สินค้าและไลฟ์สไตล์เป็นต้นแบบ คนทั่วไปใช้พฤติกรรมต่าง ๆ ของชนชั้นอีกระดับ เติมเต็มส่ิ่งที่โหยหา อาจใช้เป็นเคร่ื่องมือเลื่อนระดับชั้นทางสังคม โดยมีความเชื่อว่าตัวเองเป็นที่ยอมรับมากขึ้น เช่น การใช้สินค้าแบร์นเนม สินค้าไฮเทคโนโลยี เพื่อบ่งบอกสถานะของตนว่าทันสมัย

ที่มา:ตำราวิชา Fashion Marketing  (การตลาดสินค้าแฟชั่น) เขียนโดย ผศ.ฤดีหลิมไพโรจน์

ตำราวิชาการตลาดสินค้าแฟชั่น

ผู้ที่ชื่นชอบในเรื่องเสื้อผ้าการแต่งกายสามารถเข้าชมได้ที่
website:http://www.fashionddshop.com/
FanPage: Designed by Ruedee
Facebook:Ruedee Limpairoj
Group:คนชอบแต่งตัว
Instagram:ruedee_limpairoj
Phone:081-6381535